พื้นฐานการทำเว็บไซต์

ถ้าถามคนที่ทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บ ว่ายากไหม สำหรับคนที่ทำเป็นแล้ว คงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ยากส์ แต่ต้องอาศัยเวลา...  ต้องอาศัยเวลา เพราะว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาสัก 1 เว็บนั้น ก็คล้ายงานออกแบบ เกี่ยวกับศิลปะอื่น ๆ เหมือนการออกแบบกล่อง แพกเกจผลิตภัณฑ์ การออกแบบแผ่นพับ โบรชัวร์ นามบัตร การออกแบบต้องใช้เวลามาก.. แต่ก็ไม่ยากส์.. มากถึงขนาดการออกแบบบ้าน อาคาร ที่ต้องคำนวณ อะไรต่าง ๆ มากมายนัก
การทำเว็บไซต์นั้นมีมากมายหลายแบบ แต่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำเว็บไซต์ในเบื้องต้นนั้น มีไม่มากเท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบกับอย่างอื่น สิ่งที่ต้องศึกษาเรียนรู้ก็คือ...

1.เรียนรู้โค๊ด html "โค๊ด html" สิ่งนี้! เมื่อผมได้ยินเป็นครั้งแรก ยังคิดในใจ จะไหวมั๊ยเนี่ยเรา แต่พอตั้งใจเรียนรู้เข้าจริง กลับไม่ยากนัก ถามว่า : จำเป็นที่จะต้องรู้ทั้งหมดไหม? จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดก็จริง  แต่ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ทุกอย่าง

 2.การใช้งานโปรแกรมเขียนเว็บไซต์ เช่น โปรแกรม notepad ที่ติดมากับระบบพื้นฐานของวินโดว์ xp หรือ วินโดว์ 7 หรือโปรแกรม editplus หรือ โปรแกรม eclipse

ส่วนมากผมจะใช้โปรแกรม notepad เพราะเปิดง่ายไม่ต้องบู๊ตนานเหมือนโปรแกรม editplus กับโปรแกรม eclipse โปรแกรม eclipse ผมจะใช้ก็ต่อเมื่อตอนที่ดาวน์โหลดแม่แบบฟรี(Template free) ของต่างชาติมาใช้ มันต้องเปลี่ยนภาษาก่อน(charset)ถึงจะใช้เป็นภาษาไทยได้

 3.การโอนแฟ้มข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเว็บมาสเตอร์กับโฮสติ้งหรือเซอร์ฟเวอร์(พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ให้ออนไลน์ได้ตลอดเวลาทั่วโลก) เรียนรู้แล้วหาของฟรีใช้ หรือเช่าโฮสติ้งปีละ 500 บาท เพื่อการเริ่มต้นไปก่อน ก่อนเช่าโฮสติ้งค่อยหารือกันอีกที เพราะบางโฮสล่มบ่อยมาก ทำให้อันดับการค้นหาเว็บไม่ดีไปด้วย

ทำเว็บไซต์ขั้นพื้นฐาน

นี่คือหน้าตาของภาษา html ที่ใช้สำหรับเขียนเว็บไซต์

<head>
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"/>
<title>สวัสดีแจ็คกี้ชาน</title>
</head>
<body>
สวัสดีแจ็คกี้ชาน เช้านี้กินข้าวกับอะไร?
</body>
</html>

ถ้าใครอยากรู้ว่าเว็บไซต์เขาทำกันยังไงก็ให้ลองเปิดโปรแกรม notepad ขึ้นมา(ส่วนใหญ่มีติดตั้งในวินโดว์) แล้วเขียนโค๊ด html เหล่านี้ลงไปแล้ว Save As เป็น .html ดูขั้นตอนได้จากรูปภาพ



ตั้งชื่อเป็น index.html
ตั้งค่าเป็น All Files
UTF-8

ตั้งชื่อเป็น index.html
ตั้งค่าเป็น All Files

UTF-8
                                         เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ลองเปิดดูที่บราวเซอร์

จากนั้นให้หาของสองสิ่ง
1.พื้นที่เก็บข้อมูล หรือที่เรียกกันว่าโฮสติ้ง (หาของฟรีสำหรับทดสอบ)
2.โปรแกรม Core Ftp เป็นโปรแกรมสำหรับโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้กับ โฮสติ้ง สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ http://coreftp.com/
           และที่ด้านล่างนี่คือหน้าตาของโปรแกรม Core Ftp ที่เปิดขึ้นมาแล้วครับ ให้สังเกตระหว่างกึ่งกลางนะครับ จะมีเส้นแบ่งขั้น ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับฝั่ง server อยู่ 
วิธีการใช้งานนั้น มีคนเขียนขึ้นมาเยอะแล้ว ก็ลองค้นหาดู เมื่อรู้วิธีในการโอนข้อมูลแล้ว ก็สามารถพัฒนาไปทำเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือสคริปต์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้โค๊ดด้วยซ้ำ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สร้างเว็บไซต์ Flash ง่ายจริง ๆ

ทำเว็บไซต์จากแม่แบบฟรี 6 (โค๊ด html แทรกรูปภาพ)

ทำเว็บไซต์จากแม่แบบฟรี 8 (การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์)